๖. ขอบเขตการดำเนินงาน

๖.๑  กำหนดและจัดทำแผนการดำเนินโครงการ ที่ระบุรายละเอียด ขั้นตอนวิธี และระยะเวลาที่ควบคุมกิจกรรม ข้อ ๖.๑-๖.๔    อย่างชัดเจน
๖.๒  การเชิญชวนและการรับสมัครเข้าร่วม
       ๖.๒.๑  นำเสนอเกณฑ์การจัดการของเสียตามหลัก 3Rs และเกณฑ์การประเมินการใช้ประโยชน์ของเสียได้ทั้งหมด (Zero Waste to landfill) โดยแบ่งประเภทกิจกรรมเป็นกิจกรรมกลุ่มย่อย (small group activity) ที่ดำเนินการเฉพาะบางส่วนของโรงงาน และกิจกรรมทั่วทั้งโรงงาน โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และใช้เป็นข้อมูลเชิญชวนโรงงานเข้าร่วมโครงการ
        ๖.๒.๒  จัดทำการประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนโรงงานเข้าร่วมโครงการผ่านช่องทางต่างๆ เช่น แผ่นผับ โปสเตอร์หนังสือพิมพ์ จดหมายเชิญชวน เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ วิธีดำเนินงาน และประโยชน์ของโครงการ
        ๖.๒.๓  จัดพิธีเปิดโครงการ เพื่อแถลงข่าวและเปิดการรับสมัครโดยให้มีผู้เข้าร่วมอย่างน้อย ๘๐ โรงงาน
        ๖.๒.๔  คัดเลือกโรงงงานที่มีความพร้อมอย่างน้อย ๓๕ โรงงานเข้าร่วมโครงการ และจัดพิธีการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กับผู้เข้าร่วมโครงการในการเข้าให้คำแนะนำปรึกษา และการเปิดเผยข้อมูลการให้คำปรึกษา ทั้งนี้โรงงานที่เข้าร่วมโครงการนี้ให้เข้าร่วมโครงการอุตสาหกรรมสีเขียวควบคู่ไปด้วย
๖.๓  การส่งเสริมการจัดการของเสียภายในโรงงานตามหลัก 3Rs และการมุ่งสู่การใช้ประโยชน์ของเสียได้ทั้งหมด (Zero Waste to landfill)
         ๖.๓.๑  จัดทำแผนกิจกรรม 3Rs/ Zero Waste to landfill โดยการจัดกลุ่มประเภทโรงงาน นำข้อเสนอเครื่องมือในการส่งเสริมผู้ประกอบการ เช่น การใช้เครื่องมือบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อก่อให้เกิดกำไร (PREMA : Profitable Environmental Management ) การใช้ระบบบริหารคุณภาพ (TQM : Total Quality Management) การใช้เทคโนโลยีสะอาด (CT : Clean Technology) หรือเครื่องมืออื่นๆเป็นต้น วิธีการทำกิจกรรม 3Rs ตามประเภทกลุ่มโรงงาน เสนอกรมาโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ
         ๖.๓.๒  ให้ความรู้การประเมินแลการวิเคราะห์การสูญเสีย การจัดทำแผนการลดการสูญเสีย และกาจัดการของเสีย เช่น การใช้เครื่องมือการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อก่อให้เกิดกำไร (PREMA : Profitable Environmental Management ) การใช้ระบบบริหารคุณภาพ (TQM : Total Quality Management) การใช้เทคโนโลยีสะอาด (CT : Clean Technology) เป็นต้น
         ๖.๓.๓  เข้าให้คำปรึกษาครั้งที่ ๑ พร้อมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คำปรึกษา แก้ไขพัฒนากิจกรรม 3Rs/ Zero Waste to landfill ของโรงงานที่เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งทำการวิเคราะห์จุดเกิดของเสียและเสนอแนวทางการจัดการของเสียต่างๆ โดยเฉพาะของเสียที่ยังเป็นปัญหาในการจัดการของโรงงาน โดยยึดแนว ข้อ ๖.๓.๑ และ ๖.๓.๒ (เน้นการปฏิบัติช่วยโรงงานทำได้จริง) และสรุปผลการตรวจติดตามและให้คำปรึกษา
         ๖.๓.๔  จัดประชุมกลุ่มย่อยตามประเภทกลุ่มโรงงานเพื่อแลกเปลี่ยนผลการประเมินตนเองของโรงงาน และแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานหรือการลดการสูญเสีย ตามที่ได้เรียนรู้จากวิธีการในข้อ ๖.๓.๑-๖.๓.๓ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงงาน โดยมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา และให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงาน

          ๖.๓.๕  ตรวจติดตามดำเนินงานพร้อมผู้เชี่ยวชาญ (ตรวจครั้งที่ ๒) เพื่อให้คำปรึกษา แก้ไขพัฒนากิจกรรม 3Rs/ Zero Waste to landfill ให้สมบูรณ์ และสรุปผลการตรวจติดตามและการให้คำปรึกษา
          ๖.๓.๖  จัดประชุมกลุ่มย่อยตามประเภทกลุ่มโรงงานเพื่อรายงายงานผลการดำเนินกิจกรรม 3Rs/ Zero Waste to landfill และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงงาน โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำปรึกษา และให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีดำเนินงาน
          ๖.๓.๗  ตรวจประเมินการจัดการของเสียภายในโรงงาน (ตรวจครั้งที่ ๓) ตามหลักเกณฑ์การจัดการของเสียภายในโรงงงานตามหลัก 3Rs และโรงงานที่สามารถใช้ประโยชน์ของเสียได้ทั้งหมด (Zero Waste to landfill) ได้สำเร็จตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบและสรุปผลการตรวจประเมินและการให้คำปรึกษา
๖.๔  การให้คำปรึกษาและแนะนำการใช้ประโยชน์ของเสียระหว่างโรงงาน
              ๖.๔.๑  คัดเลือกกากของเสียจากโรงงานที่เข้าร่วมโครงการที่มีแนวโน้มจะใช้ประโยชน์ได้
              ๖.๔.๒  พิจารณาแนวทางการใช้ประโยชน์กากของเสีย รวมถึงวิเคราะห์ลักษณะสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของ
    กากของเสียหากจำเป็น
              ๖.๔.๓  ดำเนินการศึกษากานำกากของเสียร่วมกับโรงงานเจ้าของกากของเสียและโรงงานที่สามารถรับของเสียไปใช้
    ประโยชน์ต่อได้
๖.๕  การเผยแพร่ผลการดำเนินงาน
๖.๕.๑  จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการจัดการของเสีย ได้แก่ Roll-up pop-up แผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการ และดำเนินการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะโดยเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการในงานของกรมโรงงานอุตสาหกรรมในวันพิธีเปิด-ปิดโครงการ
๖.๔.๒  จัดทำเอกสารเผยแพร่ความสำเร็จของโรงงานที่ได้รับรางวัล จำนวนไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ เล่ม
๖.๕.๓  สรุปประมวลผลการจัดทำ 3Rs ของโรงงานที่เข้าร่วมโครงการละจัดทำเอกสารเผยแพร่หลักปฏิบัติการจัดการของเสียที่ดี เทคนิคและตัวอย่างการจัดการของเสียตามหลัก 3Rs จำนวนไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ เล่ม และวีดีทัศน์
๖.๕.๔  จัดสัมมนาและเผยแพร่แนวทางและหลักเกณฑ์คุณสมบัติของเสียที่เหมาะสมในการนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงในระดับอุตสาหกรรม หลักการจัดการของเสียภายในโรงงาน โดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของโรงงานที่เข้าร่วมโครงการ อย่างน้อยเป็น ๓ กลุ่มอุตสาหกรรม รวมทั้งจัดงานประชาสัมพันธ์ผลของโครงการ โดยมีพิธีมอบรางวัล 3Rs และรางวัล  Zero Waste Achievement Awards โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ คน ทั้งนี้ตามความเหมาะสมที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ

ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์กากอุตสาหกรรม ประจำปี ๒๕๕๗

เข้าร่วมโครงการ
หน้าหลัก
เกี่ยวกับโครงการ
ติดต่อโครงการ
ปฏิทินกิจกรรม
comments powered by Disqus